วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2565 เวลา 9.00 น. ณ ศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ด้านแมคคาทรอนิกส์ EEC-HDC(ENMEC) สาขาวิชาวิศวกรรมแมคคราทรอนิกส์และหุ่นยนต์ สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก วิทยาเขตบางพระ อาจารย์ทัศพันธุ์ สุวรรณทัต กรรมการศูนย์เครือข่ายฯ และหัวหน้าสาขาวิชาฯ ให้การต้อนรับ อาจารย์ ดร.วารินทร์ ชลหาญ กรรมการศูนย์เครือข่ายฯ และผู้เชี่ยวชาญการทำรีโทรฟิต บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อติดตามความคืบหน้าโครงการรีโทรฟิตหุ่นยนต์อุตสาหกรรม
สืบเนื่องจากทางศูนย์เครือข่าย ENMEC มีพันธกิจที่ได้รับมอบหมายจาก ดร.อภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานด้านการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการศึกษาคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC-HDC) สำนักงานคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC) ให้เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบแมคคาทรอนิกส์ ระดับสูง ไปยังภาคอุตสาหกรรม และสถาบันการศึกษาในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก
หุ่นยนต์อุตสาหกรรมเป็นเทคโนโลยีแมคคาทรอนิกส์ ที่มีความสลับซับซ้อน มีความจำเป็นต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ของประเทศ และในปัจจุบันมีการนำเข้าหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเข้ามาใช้งานอย่างต่อเนื่อง หุ่นยนต์อุตสาหกรรมจำนวนมากเสื่อมสภาพทางไฟฟ้าจนไม่สามารถซ่อมแซมได้ แต่ระบบทางกลของหุ่นยนต์อุตสาหกรรมยังคงสมบูรณ์ การฟื้นฟูสภาพหุ่นยนต์โดยการทำรีโทรฟิตจึงเป็นทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำให้หุ่นยนต์ที่เสื่อมสภาพแล้วกลับมาทำใช้งานได้เหมือนใหม่
จากการเข้าติดตามความคืบหน้า พบว่านักศึกษาและอาจารย์ของทางสาขาวิชาวิศวกรรมแมคคาทรอนิกส์และหุ่นยนต์ สามารถปรับแก้ไขโครงสร้างทางกลของหุ่นยนต์อุดสากรรมให้สามารถติดตั้งเซอร์โวมอเตอร์รุ่นใหม่ได้เป็นที่เรียบร้อย และอยุ่ระหว่างการทำ wiring ตู้ระบบควบคุมไฟฟ้าหุ่นยนต์ หลังการ wiring และประกอบเซอร์โวมอเตอร์ขุดใหม่เข้ากับโครงสร้างทางกลของหุ่นยนต์ ทางผู้เชียวชาญของ บมจ.เดลต้าฯ จะถ่ายทอดความรู้การกำหนดค่าในชุดสมการ Inverse Kinematics , Forward Kinematics และ Kinetics รวมถึงการกำหนดค่าพารามิเตอร์ให้แก่เซอร์โว โรบอทคอนโทรลเลอร์ ชุดทีชเพนแด้น เพื่อให้เซอร์โวทั้ง 6 ชุด ประกอบทำงานร่วมกันเป็นการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ 6 Axis Articulated Robot ถูกต้องตามหลักวิชาการวิทยาการหุ่นนยนต์
โครงการดังกล่าวทางศูนย์เครือข่ายฯ ได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านระบบควบคุมหุ่นยนต์อุตสาหกรรมจาก Delta Electronics Inc Taiwan ผู้ผลิตระบบอัตโนมัติรายใหญ่ของเอเชีย โดยมีอาจารย์ ดร.วารินทร์ ชลหาญ ผู้เชียวชาญจากทาง บริษัท เดลต้า อีเลคโทรนิคส์ (ประเทศไทย) จำกัด(มหาชน) เป็นผู้แทนในการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้แก่คณาจารย์ของทางสาขาวิชาฯ และทางสาขาวิชาฯ จัดทำเป็นหลักสูตรเผยแพร่องค์ความรู้ไปยังภาคอุตสาหกรรมผ่านศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้ด้านแมคคาทรอนิกส์ ต่อไป